JavaScript must be enabled in order for you to see "WP Copy Data Protect" effect. However, it seems JavaScript is either disabled or not supported by your browser. To see full result of "WP Copy Data Protector", enable JavaScript by changing your browser options, then try again.

Thai SME Research

เปิดโลกธุรกิจ SMEs

รับช่วงต่อ ธุรกิจครอบครัว อย่างไรให้สำเร็จ รับช่วงต่อ ธุรกิจครอบครัว อย่างไรให้สำเร็จ
ธุรกิจครอบครัว (Family Business) เป็นคำที่หลายท่านคงคุ้นเคยกัน โดยเฉพาะท่านที่เป็นลูกหลานของครอบครัวที่ประกอบธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจ SMEs หรือ ธุรกิจขนาดใหญ่ ส่วนมากแล้วเรามักจะเห็นตัวอย่างการรับช่วงธุรกิจจากครอบครัวมาพัฒนาต่อจนประสบความสำเร็จ แต่แน่นอน ก็มีบางส่วนที่ไม่ชอบ ไปไม่รอดกับธุรกิจครอบครัวจนต้องถอนตัวออกมา ซ้ำร้ายบางคนรับช่วงมาบริหารจนธุรกิจเดิมพังจนไม่เป็นท่า แถมครอบครัวยังมีปัญหา บทความนี้จะแนะนำ Tips ในการรรับช่วงต่อธุรกิจครอบครัว ว่าทำอย่างไรจะรับช่วงและดำเนินการต่่อได้อย่างประสบความสำเร็จ 1. พูดคุยกันให้เข้าใจ การสื่อสาร คือ เครื่องมือที่จะทำให้การดำเนินงานราบรื่น และปัญหาถูกแก้ได้อย่างรวดเร็ว... รับช่วงต่อ ธุรกิจครอบครัว อย่างไรให้สำเร็จ

ธุรกิจครอบครัว (Family Business) เป็นคำที่หลายท่านคงคุ้นเคยกัน โดยเฉพาะท่านที่เป็นลูกหลานของครอบครัวที่ประกอบธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจ SMEs หรือ ธุรกิจขนาดใหญ่ ส่วนมากแล้วเรามักจะเห็นตัวอย่างการรับช่วงธุรกิจจากครอบครัวมาพัฒนาต่อจนประสบความสำเร็จ แต่แน่นอน ก็มีบางส่วนที่ไม่ชอบ ไปไม่รอดกับธุรกิจครอบครัวจนต้องถอนตัวออกมา ซ้ำร้ายบางคนรับช่วงมาบริหารจนธุรกิจเดิมพังจนไม่เป็นท่า แถมครอบครัวยังมีปัญหา บทความนี้จะแนะนำ Tips ในการรรับช่วงต่อธุรกิจครอบครัว ว่าทำอย่างไรจะรับช่วงและดำเนินการต่่อได้อย่างประสบความสำเร็จ

1. พูดคุยกันให้เข้าใจ
การสื่อสาร คือ เครื่องมือที่จะทำให้การดำเนินงานราบรื่น และปัญหาถูกแก้ได้อย่างรวดเร็ว ปัญหาสำคัญของการทำธุรกิจครอบครัว คือ ความไม่เข้าใจกัน ไม่ว่าจะเป็น ความต้องการ มุมมอง ทัศนคติ หรือ แม้แต่วิธีการทำงาน นอกจากนั้น การทำธุรกิจกับครอบครัว มักดำเนินงานด้วยอารมณ์ ความรู้สึก และ ความเกรงใจในลำดับอาวุโส เช่น พ่อเป็นใหญ่ ลูกต้องฟังพ่อแม่ หรือ น้องต้องให้พี่เป็นคนตัดสินใจ ทั้งที่จริงแล้ว การส่งต่อธุรกิจ จะต้องมีความเข้าใจ สามารถแชร์ประสบการณ์หรือการตัดสินใจร่วมกันได้ การพูดคุยหรือการสื่อสาร คือกุญแจสำคัญของการทำงานร่วมกัน เรื่องสำคัญต่างๆ เช่น บทบาทหน้าที่ เงินเดือน หรือ อำนาจในการตัดสินใจ ควรมีการคุยให้เห็นภาพร่วมกัน

2. ปรับทัศนคติและความคาดหวัง
ความคาดหวังเป็นปัญหาระดับชาติของการรับช่วงต่อธุรกิจของครอบครัว โดยส่วนใหญ่แล้ว ลูกหลานจะถูกคาดหวังว่าจะต้องดำเนินธุรกิจเหมือนที่รุ่นพ่อแม่ทำมา การผลิตสินค้า การติดต่อลูกค้า หรือการขาย ควรทำตามแบบที่ผู้ใหญ่ได้มีประสบการณ์และเรียนรู้มาก่อนหน้า ว่าง่ายๆ คือ มีการวางแนวทางไว้ให้เรียบร้อยว่าต้องทำอะไรอย่างไรบ้าง ดังนั้น ก่อนการรับช่วงต่อ ธุรกิจครอบครัว ควรจะมีการปรับทัศนคติและความคาดหวัง ต้องยอมรับอย่างหนึ่งว่า ในตลาดที่เปลี่ยนไป บุคคลที่เติบโตมาแต่ละช่วงอายุ มีความคิด ความชอบไม่เหมือนกัน ดังนั้นเราควรบอกเลยว่าเราวางแผนการดำเนินธุรกิจอย่างไร เป้าหมายตั้งไว้มากน้อยแค่ไหน นอกจากนี้ การให้เกียรติและการรับฟังความเห็นที่แตกต่าง คือ หนทางที่จะทำให้ธุรกิจสามารถพัฒนาในตลาดที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาได้

3. เลือกผู้นำ
หากเป็นครอบครัวที่มีลูกหลานหลายคนและจำเป็นต้องมีผู้นำ เนื่องจากลงเรือลำเดียวกันแล้ว อย่ามัวคิดแต่ว่าเราอยากเป็นผู้นำ อยากได้อำนาจบริหารนั้นไว้เอง เนื่องจากส่วนแบ่งและกำไรก็ได้ตามที่กำหนดแล้ว ควรจะเลือกผู้นำที่ไว้ใจ และสามารถนำพาธุรกิจให้ประสบความสำเร็จได้ ทั้งนี้ ผู้นำที่ดีควรมีทักษะในการบริหารงาน บริหารคน และบริหารเงินได้เป็นอย่างดี หากการเลือกผู้นำ มาจากการเลือกด้วยความสัมพันธ์ส่วนตัว อำนาจ หรือเงินทอง มากกว่าทักษะและความสามารถในการบริหารแล้ว คงยากที่ธุรกิจครอบครัวจะประสบความสำเร็จได้อย่างที่หวังไว้

4. มองให้เป็นธุรกิจ

สิ่งที่ธุรกิจครอบครัวเผชิญส่วนใหญ่คือการทำงานที่ไม่เป็นระบบ เพราะมักเป็นบรรยากาศการทำงานที่เต็มไปด้วยความใกล้ชิด คุ้นเคย และเป็นการทำงานที่ไม่เป็นทางการมากนัก มีสายสัมพันธ์ในครอบครัวกันในการทำงาน อาจมีความเกรงใจกันในหมู่เครือญาติ ส่งผลกระทบให้การบริหารงานและดำเนินธุรกิจไม่มีความชัดเจน ไม่มีความเป็นมืออาชีพ ดังนั้นการทำธุรกิจต้องมองให้เป็นธุรกิจ ทั้งการบริหารงาน การบริหารบุคคล มีการกำหนดเป้าหมาย KPI มีการกำหนดกฏการขาดลามาสาย แม้จะเป็นคนในครอบครัวเองก็ตาม รวมถึงเคารพสิทธิในการแสดงความคิดเห็นของพนักงานทุกระดับอย่างเท่าเทียมและเสมอภาค อีกทั้งเจ้าของบริษัท คนในครอบครัว และพนักงานต้องไม่เข้าไปมีส่วนร่วมในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างกับคู่ค้าที่มีความเกี่ยวข้องกับตนเอง เช่น บุคคลหรือกิจการในครอบครัว พี่น้อง ญาติสนิท เนื่องจากว่า ธุรกิจครอบครัว มักจะขัดแย้งกันในเรื่องผลประโยชน์ ยิ่งถ้าเป็นเรื่องคอรัปชั่น การโกงกันในครอบครัว จะส่งผลให้ธุรกิจพังกันไม่เป็นท่าแน่นอน

5. การเงินต้องเป็นระบบ

ข้อนี้สำคัญมาก เนื่องจาก ธุรกิจครอบครัว มักจะบริหารการเงินไม่รัดกุม ผู้บริหารเจ้าของ ดึงเงินเข้าออกได้อย่างอิสระ บริหารเงินเป็นแบบกงสี ดังนั้นควรจะมีระบบบัญชี มีการจ่ายเงินเดือนและการปันผลตามกำหนด การกำหนดเงินเดือนควรจะอยู่ในระดับที่เหมาะสม และกำหนดอัตราการเติบโตตามผลกำไรแทนที่จะขึ้นตามที่ต้องการ การบริหารบัญชี ควรจะปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ ไม่ควรบริหารเองโดยปราศจากความรู้ความเข้าใจ

การทำงานไม่ว่าจะเป็น ธุรกิจครอบครัว หรือ Startup ต้องมี Passion ในการทำงาน สนุกไปกับการทำงาน แต่ไม่ใช่เห็นการทำงานการบริหารธุรกิจเป็นเรื่องสนุก สรุปแล้ว การรับช่วงต่อธุรกิจครอบครัว ต้องมีแรงผลักดันในการทำงาน คือ การสนุกในการทำงาน และต้องการที่จะไปให้ถึงเป้าหมายอย่างที่คาดหวังไว้

ทาง SME Research ได้เพิ่มช่องทางอัพเดตทาง Line ที่ ID: @smeresearch หรือกดเพิ่มเพื่อนได้ที่นี่ครับ

เพิ่มเพื่อน

#smeresearch #sme #business #AEC #วิจัย #วิจัยตลาด

Source: SME Research by MRSG Co.,Ltd.

Image credit: Herr Olsen

Comments

comments