JavaScript must be enabled in order for you to see "WP Copy Data Protect" effect. However, it seems JavaScript is either disabled or not supported by your browser. To see full result of "WP Copy Data Protector", enable JavaScript by changing your browser options, then try again.

Thai SME Research

เปิดโลกธุรกิจ SMEs

การเพิ่มขีดความสามารถของผู้ประกอบการ SMEs เพื่อรองรับ เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ การเพิ่มขีดความสามารถของผู้ประกอบการ SMEs เพื่อรองรับ เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ
การจัดตั้ง เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ ถือเป็นการพัฒนาเชิงพื้นที่ที่สำคัญซึ่งปัจจุบันรัฐบาลได้มีนโยบายที่จะ พัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ โดยเริ่มจากการพัฒนาด่านการค้าชายแดนและโครงข่ายการคมนาคมขนส่งบริเวณประตู การค้าหลักของประเทศเพื่อเชื่อมโยง กระบวนการผลิตและการลงทุนข้ามแดน โดยปรับปรุงโครงข่ายระบบถนน พัฒนา ระบบ National Single Window (NSW) และสิ่งอำนวยความสะดวกทางการค้าและ การขนส่งสินค้าข้ามแดนอย่างต่อเนื่องรองรับ การเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community: AEC) ซึ่ง คณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาเศรษฐกิจ พิเศษ... การเพิ่มขีดความสามารถของผู้ประกอบการ SMEs เพื่อรองรับ เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ

การจัดตั้ง เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ ถือเป็นการพัฒนาเชิงพื้นที่ที่สำคัญซึ่งปัจจุบันรัฐบาลได้มีนโยบายที่จะ พัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ โดยเริ่มจากการพัฒนาด่านการค้าชายแดนและโครงข่ายการคมนาคมขนส่งบริเวณประตู การค้าหลักของประเทศเพื่อเชื่อมโยง กระบวนการผลิตและการลงทุนข้ามแดน โดยปรับปรุงโครงข่ายระบบถนน พัฒนา ระบบ National Single Window (NSW) และสิ่งอำนวยความสะดวกทางการค้าและ การขนส่งสินค้าข้ามแดนอย่างต่อเนื่องรองรับ การเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community: AEC) ซึ่ง คณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาเศรษฐกิจ พิเศษ (กนพ.) ได้เห็นชอบพื้นที่ที่มีศักยภาพ เหมาะสมในการจัดตั้งเป็นเขตพัฒนา เศรษฐกิจพิเศษระยะแรกของไทยใน 5 พื้นที่ ชายแดน ได้แก่ (1) อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก (2) อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว (3) อำเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราด (4) อำเภอเมือง จังหวัดมุกดาหาร และ (5) อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา ซึ่งในเวลานี้นับเป็นโอกาสอันดีที่ผู้ประกอบการควรได้มีการปรับตัวเตรียม ความพร้อมเพื่อรองรับเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษที่กำลังจะเกิดขึ้นในอีกไม่ช้านี้

สำหรับศักยภาพในด้านอุตสาหกรรมของ เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ 5 พื้นที่นั้น ได้แก่

  1. อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก มีศักยภาพในการพัฒนาอุตสาหกรรมที่เน้นการใช้แรงงานสูง โดยมี กลุ่มอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพ เช่น อุตสาหกรรมเกษตรแปรรูป (ข้าวโพด ผัก ผลไม้) อุตสาหกรรมสิ่งทอและ เครื่องนุ่งห่ม (ตัดเย็บเสื้อผ้าสำเร็จรูป) อุตสาหกรรมไม้และเฟอร์นิเจอร์ อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ
  2. อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว มีกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพ เช่น อุตสาหกรรมเกษตรแปรรูป (มันสำปะหลัง) อุตสาหกรรมอาหาร และอุตสาหกรรมพลังงานทดแทน
  3. อำเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราด มีกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพ เช่น อุตสาหกรรมเกษตรแปรรูป (ปาล์ม ผลไม้ ประมง) และอุตสาหกรรมแปรรูป ยางพารา
  4. อำเภอเมือง จังหวัดมุกดาหาร มีกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพ เช่น อุตสาหกรรมเกษตรแปรรูป (ข้าว อ้อย) อุตสาหกรรม แปรรูปยางพารา และอุตสาหกรรมแปรรูปปศุสัตว์
  5. อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา มีกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพ เช่น อุตสาหกรรมแปรรูปยางพารา อุตสาหกรรม อาหารฮาลาล อุตสาหกรรมแปรรูปอาหารทะเล และอุตสาหกรรมเครื่องแต่งกายมุสลิม เป็นต้น

โดยมีหลักเกณฑ์และวิธีการ สนับสนุนการจัดตั้ง เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ 4 เรื่อง ได้แก่

  1. สิทธิประโยชน์สำหรับการลงทุน ด้วยการให้สิทธิประโยชน์ตามเขตการส่งเสริมการลงทุนเขต 3 พิเศษ และสิทธิประโยชน์อื่นทั้งที่เป็นภาษีและไม่ใช่ภาษี
  2. การให้บริการจุดเดียวแบบเบ็ดเสร็จ โดยจัดตั้งศูนย์การให้บริการจุดเดียวแบบเบ็ดเสร็จ (One Stop Service: OSS) ด้านการลงทุน โดยมีสำนักงานในพื้นที่ และเชื่อมโยงกับศูนย์บริการด้านการลงทุนของสำนักงาน คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน หรือ BOI และจัดตั้ง OSS ด้านแรงงาน สาธารณสุข และการตรวจคนเข้าเมือง
  3. มาตรการสนับสนุนการใช้แรงงานต่างด้าว จัดระบบแรงงานต่างด้าวแบบไป-กลับ รวมทั้งกำหนด แนวทางการฝึกอบรมแรงงาน
  4. การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและด่านศุลกากรในพื้นที่ โดยจะพัฒนาด้านศุลกากรและการผ่านแดน โครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่ง ระบบน้ำ ไฟฟ้า และอื่นๆ

เพื่อให้สามารถเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการเพื่อรองรับเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษผู้ประกอบการควรตระหนักและให้ความสำคัญอย่างต่อเนื่องในการพัฒนาเพื่อเพิ่มขีดความสามารถใน การแข่งขันให้กับกิจการของตนเอง ได้แก่

  1. การพัฒนาผลิตภาพ (Productivity) ตามแนวทางยุทธศาสตร์การเพิ่มประสิทธิภาพและผลิตภาพ ของภาคอุตสาหกรรม พ.ศ. 2551-2555 ที่ได้กำหนดยุทธศาสตร์ไว้ 5 ด้าน ได้แก่ การยกระดับความสามารถทักษะแรงงาน (Human Skill)  การยกระดับความสามารถทางด้านการบริหารจัดการ (Management) การปรับปรุงประสิทธิภาพเครื่องจักร การพัฒนาระบบ Logistics ภายในกลุ่มอุตสาหกรรม และการสร้างเครือข่ายพันธมิตรธุรกิจ และ Supply Chain
  2. การสร้างมูลค่า (Value Added) และคุณค่า (Value creation) ให้กับสินค้าและบริการตามแนวคิดเดิมของระบบเศรษฐกิจอุตสาหกรรมการผลิตจำนวนมาก (Mass Production) ซึ่งกำลังหมด สมัย ไม่สามารถแข่งขันได้ในปัจจุบัน ควรให้ความสำคัญกับการยกระดับคุณค่า (Value Up) ซึ่งเป็นกระบวนการ ในการสร้างสรรค์คุณค่าอันจะนำไปสู่มูลค่าเพิ่มของผลิตภัณฑ์หรือบริการ ช่วยยกระดับความสามารถในการ แข่งขันของธุรกิจให้สูงขึ้น สร้างภูมิคุ้มกันจากการลอกเลียนแบบและการตัดราคา รวมทั้งปรับตำแหน่งของธุรกิจสู่ ตำแหน่งที่สามารถเป็นผู้กำหนดราคาได้ตามความเหมาะสม นำมาซึ่งรายได้และผลกำไรที่เพิ่มขึ้น โดยมีแนวทาง ในการสร้างมูลค่าและคุณค่า เช่น การพัฒนาการออกแบบสินค้าให้มีความแปลกใหม่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวซึ่ง จะทำให้ยากต่อการลอกเลียนแบบ รวมทั้งพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ให้มีความหลากหลายเป็นที่ต้องการของตลาดมากขึ้น
  3. การพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานของผลิตภัณฑ์ ทั้งในด้านการพัฒนาสินค้าให้มีคุณภาพดีขึ้น และ ผลิตสินค้าให้ได้มาตรฐานมากขึ้นเช่น มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.) และมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) ISO / Codex / OIE / IPPC / Food Safety / HACCP / GMP / COC และที่น่าจับตามองเพิ่มขึ้น คือ REACH ซึ่งเป็นระเบียบว่าด้วยสารเคมีของสหภาพยุโรป
  4. การหาช่องทางขยายตลาด มีการวางแผนกลยุทธ์การขยายโอกาสทางการตลาด โดยการศึกษาและ วิจัยเพื่อหาตลาดใหม่ๆ ที่เหมาะสมกับสินค้าและผลิตภัณฑ์ของตนเอง ซึ่งมีตลาดใหม่ที่น่าสนใจ เช่น ตลาดในกลุ่ม ประเทศเพื่อนบ้าน และตลาดในกลุ่มประเทศ BRICS

ในยุคที่มีการแข่งขันทางเศรษฐกิจสูง “ใครพร้อมก่อนย่อมได้เปรียบ” ดังนั้น ผู้ประกอบการควรเตรียม ความพร้อมรองรับการเกิดเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ โดยการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับกิจการของ ตนเอง ซึ่งจะเป็นการสร้างความเข้มแข็งและเพิ่มโอกาสในการประกอบธุรกิจแก่ผู้ประกอบการให้ประสบผลสำเร็จ และกิจการมีการเติบโตอย่างยั่งยืน

#smeresearch #sme #business #AEC #วิจัย #วิจัยตลาด

Source: เรวดี แก้วมณี สำนักนโยบายอุตสาหกรรมมหภาค (สม.)

Comments

comments