JavaScript must be enabled in order for you to see "WP Copy Data Protect" effect. However, it seems JavaScript is either disabled or not supported by your browser. To see full result of "WP Copy Data Protector", enable JavaScript by changing your browser options, then try again.

Thai SME Research

เปิดโลกธุรกิจ SMEs

เหตุผลที่ควรเลือกจ้างพนักงานจาก ทัศนคติ (Attitude) เหตุผลที่ควรเลือกจ้างพนักงานจาก ทัศนคติ (Attitude)
ในองค์กรหรือบริษัทต่างๆ ประกอบด้วยคนมากมาย ต่างนิสัย ต่างคุณสมบัติ ต่างการแสดงออก และต่างความรู้ความสามารถ เป็นที่ถกเถียงกันมานานว่า เราควรเลือกจ้างพนักงานจากอะไร ความรู้ความสามารถ? ปริญญา? มหาวิทยาลัย? ลักษณะส่วนตัว? หรือ ทัศนคติ? มีผลการวิจัยแสดงว่า ความฉลาดทางอารมณ์ (Emotional intelligence) มีผลต่อความเป็นผู้นำและองค์กร กล่าวคือ ถ้าขาดความฉลาดทางอารมณ์ ก็ส่งผลต่อความล้มเหลวในการบริหาร แล้วถ้าเป็นพนักงานล่ะ ทัศนคติ (Attitude) ส่งผลต่อการทำงานได้อย่างไร... เหตุผลที่ควรเลือกจ้างพนักงานจาก ทัศนคติ (Attitude)

ในองค์กรหรือบริษัทต่างๆ ประกอบด้วยคนมากมาย ต่างนิสัย ต่างคุณสมบัติ ต่างการแสดงออก และต่างความรู้ความสามารถ เป็นที่ถกเถียงกันมานานว่า เราควรเลือกจ้างพนักงานจากอะไร ความรู้ความสามารถ? ปริญญา? มหาวิทยาลัย? ลักษณะส่วนตัว? หรือ ทัศนคติ? มีผลการวิจัยแสดงว่า ความฉลาดทางอารมณ์ (Emotional intelligence) มีผลต่อความเป็นผู้นำและองค์กร กล่าวคือ ถ้าขาดความฉลาดทางอารมณ์ ก็ส่งผลต่อความล้มเหลวในการบริหาร แล้วถ้าเป็นพนักงานล่ะ ทัศนคติ (Attitude) ส่งผลต่อการทำงานได้อย่างไร บทความนี้จะกล่าวถึง เหตุผลที่ควรเลือกจ้างพนักงานจาก ทัศนคติ (Attitude)

1. พวกเขาจะไม่สนใจเสียงรอบข้างและช่วยให้คนอื่นๆสนใจในงานมากขึ้น

ลองนึกดูดีๆ ถ้าทุกวันในบริษัทมีแต่การเม้าท์กัน นินทากัน ที่เกิดจากคนที่มีทัศนคติในทางลบทั้งนั้น คนที่ชอบก็จะไม่สนใจงาน มัวแต่ร่วมวงนินทา ส่วนคนที่ไม่ชอบ ก็จะประสาทเสียกับพฤติกรรมเหล่านี้ อย่าลืมว่าพฤติกรรมเหล่านี้ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการทำงานและบรรยากาศที่ไม่ดีในริษัท

แต่ถ้าพนักงานมีทัศนคติที่ดี ก็จะไม่ได้สนใจเสียงต่างๆเหล่านี้ เรียกว่าไม่ได้รู้เรื่องด้วยซ้ำ จะปฎิเสธการร่วมวงนินทา และช่วยทำให้บรรยากาศดีขึ้น ผมมักจะเรียกคนเหล่านี้ว่า “ตัวเปลี่ยนเกมส์” บ่อยครั้งคนเหล่านี้ช่วยเปลี่ยนบรรยากาศมาคุเป็นบรรยากาศที่ผ่อนคลายมากขึ้น เช่นการเปลี่ยนความสนใจไปเรื่องอื่นๆ ชวนกันเที่ยว ชวนกันกินข้าว หรือชวนกันทำกิจกรรมแทน และอาจจะส่งผลต่อการทำงานที่ดีขึ้น ช่วยให้คนอื่นๆสนใจในงานมากขึ้น

2. พวกเขาจะช่วยให้ที่ทำงานน่าอยู่

นอกเหนือจากเงินเดือนที่เพิ่มขึ้นและความท้าทายในงานใหม่ ที่ทำงานไม่น่าอยู่เป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่ทำให้อยากย้ายงาน อย่างที่มีคำกล่าวว่า “คับที่อยู่ได้คับใจอยู่ยาก” ดังนั้นที่ทำงานที่น่าอยู่ อาจจะเกิดจากคนที่มีทัศนคติที่ดีอยู่ด้วยกัน ช่วยทำให้เวลาในการทำงานเป็นเรื่องสนุก อย่าลืมว่าเวลาส่วนใหญ่ของเราอยู่กับเพื่อนร่วมงาน มากกว่าอยู่กับเพื่อนกับครอบครัวเสียอีก ถ้าเมื่อไหร่ที่ทำงานน่าอยู่น่าทำงาน พนักงานจะตั้งใจทำงานเพื่อบรรลุเป้าหมายของบริษัท และช่วยเหลือซึ่งกันและกันระหว่างเพื่อนร่วมงาน จะไม่มีคำว่า คนละแผนก หรือ หน้าที่ใครหน้าที่มัน

3. พวกเขาจะดีใจกับสิ่งเล็กๆที่จะนำไปสู่ชัยชนะที่ยิ่งใหญ่

เพราะว่าทัศนคติดี เลยรู้จักการดีใจกับสิ่งเล็กๆในทุกๆวัน เช่น ยอดขายขยับเล็กน้อย ก็ดีใจ หรือขายงานได้นิดเดียวก็จะดีใจ แต่อย่าลืมว่าสิ่งเหล่านี้จะช่วยให้มีเป้าหมายทุกวัน พยายามที่จะบรรลุเป้าหมายตลอดเวลา อย่างไรก็ตาม ผู้บริหารควรจะสร้างแรงจูงใจในการทำงาน ลงมาทำงานด้วยกันเพื่อที่จะบรรลุเป้าหมาย เพราะถ้าลูกน้องรู้สึกว่าดีใจกันเอง ทำงานกันเอง เจ้านายไม่ได้ลงมาร่วมงาน ชมเชย ให้รางวัล หรือสร้างแรงจูงใจในการทำงาน เมื่อถึงเวลานั้น พวกเขาจะหยุดทำสิ่งเหล่านั้น ดังนั้นจึงควร “เดินไปด้วยกัน”

4. พวกเขาจะทำให้เกิดการทำงานเป็นทีม ใช้คำว่า “พวกเรา” มากกว่า “ผม/ดิฉัน/หรืออื่นๆที่แทนตัวเอง”

บางทีแค่คำง่ายๆนี้ ทำให้เกิดปัญหาในบริษัทมากมาย เช่น ทำงานมาด้วยกัน แต่เมื่อเวลาพรีเซ้นต์งานในที่ประชุม ใช้คำว่าผม/ดิฉัน/หรืออื่นๆที่แทนตัวเอง แน่นอนคนที่ทำงานมาด้วยกันก็จะรู้สึกว่าคนนี้เอาหน้า ไม่ให้เครดิตกัน (แต่บางทีอาจจะไม่ได้ตั้งใจ เพียงแต่ใช้สรรพนามผิด) ดังนั้นการทำงานเป็นทีม ต้องมีการให้เครดิต แชร์การทำงาน แชร์การมีส่วนร่วม แชร์ผลงานกัน จะช่วยให้การทำงานเต็มไปด้วยความสุขในการทำงาน ไม่ให้เกิดความรู้สึกถูกเอาเปรียบหรือถูกแย่งงานได้

“A bad attitude is like a flat tire. You can’t go anywhere until you change it.” อย่าลืมว่าความรู้ ความสามารถฝึกกันได้สอนกันได้ แต่ทัศนคติเปลี่ยนกันไม่ง่ายเลย ถ้าจะเปลี่ยนผู้นั้นต้องรู้จักการเปลี่ยนแปลงตัวเอง ดังนั้นจึงเป็นเหตุผลที่ควรเลือกจ้างพนักงานจากทัศนคติที่ดีนั่นเอง

แนะนำให้อ่านเพิ่มเติมได้ที่ การคัดเลือกผู้สมัครงาน

#smeresearch #sme #business #AEC #วิจัย #วิจัยตลาด

Source: businessinsider และ SME Research by MRSG Co.,Ltd.

Comments

comments