JavaScript must be enabled in order for you to see "WP Copy Data Protect" effect. However, it seems JavaScript is either disabled or not supported by your browser. To see full result of "WP Copy Data Protector", enable JavaScript by changing your browser options, then try again.

Thai SME Research

เปิดโลกธุรกิจ SMEs

เคล็ดลับความสำเร็จ หาได้จากที่ไหน? เคล็ดลับความสำเร็จ หาได้จากที่ไหน?
มีคนมากมายถามหา เคล็ดลับความสำเร็จ หากลองศึกษาประวัติของผู้ที่มีชื่อเสียง ส่วนใหญ่แล้วไม่มีเคล็ดลับตายตัว แต่ความสำเร็จนั้นได้มาจาก การเตรียมพร้อม การทำงานหนัก และการเรียนรู้จากความผิดพลาด ไม่ว่าจะเป็น Steve Jobs, Bill Gate, คุณตัน หรือ Business Icons อื่นๆ ล้วนแต่ใช้สิ่งเหล่านี้ผลักดันธุรกิจและชีวิตจนประสบความสำเร็จ 1. การเตรียมพร้อม – คือการวางแผน ทั้งการวางแผนชีวิต... เคล็ดลับความสำเร็จ หาได้จากที่ไหน?

มีคนมากมายถามหา เคล็ดลับความสำเร็จ หากลองศึกษาประวัติของผู้ที่มีชื่อเสียง ส่วนใหญ่แล้วไม่มีเคล็ดลับตายตัว แต่ความสำเร็จนั้นได้มาจาก การเตรียมพร้อม การทำงานหนัก และการเรียนรู้จากความผิดพลาด ไม่ว่าจะเป็น Steve Jobs, Bill Gate, คุณตัน หรือ Business Icons อื่นๆ ล้วนแต่ใช้สิ่งเหล่านี้ผลักดันธุรกิจและชีวิตจนประสบความสำเร็จ

1. การเตรียมพร้อม – คือการวางแผน ทั้งการวางแผนชีวิต วางแผนธุรกิจ วางแผนทางการเงิน โดยเฉพาะถ้าจะสำเร็จในทางธุรกิจแล้ว การวางแผนธุรกิจเป็นสิ่งสำคัญ

  • ต้องกำหนดเป้าหมายให้ชัดเจน
  • ต้องรู้ว่าตัวเองมีข้อดีข้อเสียอย่างไร
  • ต้องรู้ว่าคู่แข่งคือใคร เป็นอย่างไร ทำอะไรอยู่
  • ต้องรู้ว่ากลุ่มเป้าหมายเป็นใคร ลูกค้าเป็นใคร ทำอะไร อยู่ที่ไหน ดำเนินชีวิตอย่างไร มีทัศนคติอย่างไร ต้องการอะไร
  • ต้องกำหนดกลยุทธ์อย่างชัดเจน ว่าทำอะไร อย่างไร ที่ไหน เท่าไหร่ เพื่อตอบโจทย์เป้าหมายใด
  • ต้องกำหนดงบประมาณที่จะใช้ในการดำเนินธุรกิจ เพื่อจะสามารถวางแผนการลงทุน

2. การทำงานหนัก – คือการทำงานอย่างจริงจังและตั้งใจ ไม่ได้หมายความว่าทำงานหนักหามรุ่งหามค่ำ แต่เป็นการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ  Jeff Haden เขียนถึง 5 วิธีที่ช่วยให้ทำงานมีประสิทธิภาพ ได้แก่

  • Rework your to-do list
    To-do-list จะช่วยให้เรามีเป้าหมายให้ทำทุกวัน จะคอยตามเก็บสิ่งที่ต้องทำ และจำไม่ลืม ช่วยให้เราทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่ควรจะกำหนดจำนวนสิ่งที่ต้องทำ ให้เหมาะสมกับเวลาและความเป็นจริง แนะนำให้เขียน To-do list ก่อนนอนเพื่อที่จะได้วางแผนการทำงานของพรุ่งนี้ไปในตัว
  • Measure your result, not your time
    การกำหนดเวลาอาจจะไม่ช่วยให้ประสิทธิภาพการทำงานเพิ่มขึ้น ควรจะกำหนดสิ่งที่เสร็จในแต่ละวัน หรือ Done List เพื่อที่จะให้งานมีความคืบหน้าอยู่ ตลอดเวลา เช่น ถ้าเราใส่ไปว่า “ต้องส่งใบเสนอราคาให้ลูกค้า A” แทนที่เราจะกำหนดเวลา เราลองแบ่งการทำงานออกมา เช่น คุยกับลูกค้าว่าต้องการอะไร คุยกับฝ่ายขายว่าราคาเท่าไหร่ ทำเอกสารใบเสนอราคา และส่งใบเสนอราคา แบบนี้ก็จะช่วยให้งานมีประสิทธิภาพมากขึ้น
  • Build habits to help your start working
    กำหนดนิสัยในการทำงาน โดยลองกำหนดให้เป็นสิ่งที่ต้องทำประจำ เช่นเริ่มทำงาน เมื่อชงกาแฟและดื่มกาแฟเสร็จแล้ว งดเล่น Social network พอทำไปสักพัก เราก็จะชินกับการที่ต้องเริ่มทำงานหลังจากที่ทำสิ่งที่เรากำหนดไว้
  • Track where you waste time
    แน่นอนสิ่งที่เราเสียไปในวันๆหนึ่ง คือ เวลา ลองมาพิจารณาว่าเราเสียเวลาไปกับอะไรบ้างในแต่ละวัน CEO หลายๆท่านบอกว่าไม่อยากเสียเวลา ไปกับการแต่งตัว เลยใส่เสื้อสีเดิมๆทุกวัน แต่ผมว่าอันนี้แล้วแต่คนนะ ถ้าเป็นคนชอบแต่งตัว การแต่งตัวจะช่วยให้ทำงานดีขึ้น มีพลังในการทำงานมากขึ้น มีความมั่นใจมากขึ้น สำหรับข้อนี้ ลองพิจารณาดูว่าอะไรที่เราเสียเวลามากเกินไปแล้วเกิดประโยชน์น้อยที่สุด
  • Build habits to helps you stop working
    อย่างที่กล่าวไปว่าการทำงานหนัก ไม่ใช่การทำงานหามรุ่งหามค่ำ การทำงานที่มีประสิทธิภาพ ต้องรู้จักพักผ่อน บางบริษัทมีการกำหนดเลยว่า ถ้ามีการทำโอที หรือทำงานดึกมากๆ หมายถึงการทำงานไม่มีประสิทธิภาพ เพราะไม่สามารถวางแผนการทำงานได้ หรือบางบริษัทมีการกำหนดเวลาตัดไฟ เช่นเที่ยง หรือ หลังเลิกงาน เพื่อให้หยุดทำงานในเวลาพัก

3. การเรียนรู้จากความผิดพลาด – การยอมรับแล้วเรียนรู้จากประสบการณ์ที่ผ่านมา หรืออาจจะเรียนรู้จากความผิดพลาดของผู้อื่น โดยเริ่มต้นที่จะยอมรับความผิดพลาดก่อน เพื่อที่จะไม่ผิดพลาดซ้ำอีก และ เพื่อหาแผนการหรือกลยุทธ์ในการป้องกัน โดย Ph.D.Guy Winch เขียนถึง 4 สิ่งที่เรียนรู้จากความผิดพลาด ได้แก่

  • ประเมินผลแผนที่วางไว้ (Reevaluate your planning)
    ลองคิดดูอีกครั้งว่าเราใช้เวลาไปมากน้อยเท่าไหร่กับการวางแผนที่จะพิชิตเป้าหมายที่วางไว้ เป็นแผนที่ดีที่สุดหรือยัง มีแผนสำรองหรือไม่ถ้าเกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝัน เช่น ภัยธรรมชาติ การเมือง เศรษฐกิจ แผนการที่วางไว้สามารถทำได้จริงหรือไม่ เกินกว่างบประมาณที่มีหรือไม่ หรือเกินความสามารถที่จะทำได้ในปัจจุบันหรือไม่
  • ประเมินผลสิ่งที่เตรียมพร้อมไว้ (Reevaluate your preparation)
    เมื่อเราเกิดข้อผิดพลาดหรือปัญหา ให้ลองกลับมาคิดว่าสิ่งที่เตรียมพร้อมไว้ตรงกับแผนที่วางไว้หรือไม่ พนักงานพร้อมหรือไม่ อุปกรณ์ในการทำงานต่างๆพร้อมหรือไม่ เงินทุนพร้อมหรือไม่ หรือแม้แต่สิ่งที่เตรียมพร้อมไว้อัพเดตหรือไม่ ทันสมัยหรือไม่ สามารถใช้ได้จริงหรือไม่
  • ประเมินผลสิ่งที่ดำเนินการไป (Reevaluate your execution)
    เมื่อ เราเกิดข้อผิดพลาด สิ่งที่เราต้องย้อนไปดูแน่ คือสิ่งที่ดำเนินการไป เป็นอย่างไรบ้าง ตรงกับเป้าหมายหรือไม่  มีประสิทธิภาพหรือไม่ เพื่อจะสามารถปรับเปลี่ยนแผนการและวิธีดำเนินการให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
  • ให้ความสนใจกับตัวแปรต่างๆที่ควบคุมได้ (Focus on variables in your control)
    อธิบายง่ายๆคือแทนที่เราจะไปวิตกและเสียใจกับสิ่งที่ผิดพลาดไป จมอยู่กับความคิดที่ว่าไม่มีทางสำเร็จแน่นอน เปลี่ยนมาเป็นให้ความสนใจกับสิ่งที่เราควบคุมได้ เช่น ยอดขายตกจนทำให้คู่แข่งแซงบริษัทเรา ไป สิ่งที่เราควบคุมได้ คือ เราต้องพัฒนาสินค้าและบริการ เรียนรู้พฤติกรรมลูกค้า วิจัยตลาดว่าลูกค้าต้องการอะไร ภาพลักษณ์ของบริษัทเราเป็นอย่างไร ยอดขายตกเพราะอะไร เพื่อที่จะนำไปสู่การปรับกลยุทธ์ทางการตลาดและเกิดแรงผลักดันให้ไปสู่เป้าหมายที่วางไว้

#smeresearch #sme #business #AEC #วิจัย #วิจัยตลาด

Source: SME Research by MRSG Co.,Ltd.

Comments

comments