JavaScript must be enabled in order for you to see "WP Copy Data Protect" effect. However, it seems JavaScript is either disabled or not supported by your browser. To see full result of "WP Copy Data Protector", enable JavaScript by changing your browser options, then try again.

Thai SME Research

เปิดโลกธุรกิจ SMEs

6 วิธี การเขียนหัวข้อที่ดึงดูดใจ 6 วิธี การเขียนหัวข้อที่ดึงดูดใจ
เวลาเราเลือกอ่านบทความต่างๆ นอกจากรูปภาพที่ดึงดูดแล้ว หัวข้อ (Headline) ก็มีความสำคัญมาก ลองคิดว่าวันๆหนึ่งเราเห็นบทความผ่านตาไปกี่บทความ จากกี่เพจ หรือกี่เว็บ เวลาผมเห็นบทความต่างๆผ่านตาไป บางครั้งจะอดขำไม่ได้กับหัวข้อที่ใช้คำเหล่านี้ “ชาวเน็ตอึ้ง…..” หรือ “…….มาดูกันว่าผลจะเป็นอย่างไร” แต่บางครั้งก็อดใจไม่ได้ ก็กดเข้าไปดูอยู่ดี นั้นหมายความว่ามันทำให้เราสงสัยหรือดึงดูดความสนใจได้จริงๆ ซึ่งมีงานวิจัยว่า 8 ใน 10 คน จะอ่านหัวข้อ แต่มีเพียง 2 ใน... 6 วิธี การเขียนหัวข้อที่ดึงดูดใจ

เวลาเราเลือกอ่านบทความต่างๆ นอกจากรูปภาพที่ดึงดูดแล้ว หัวข้อ (Headline) ก็มีความสำคัญมาก ลองคิดว่าวันๆหนึ่งเราเห็นบทความผ่านตาไปกี่บทความ จากกี่เพจ หรือกี่เว็บ เวลาผมเห็นบทความต่างๆผ่านตาไป บางครั้งจะอดขำไม่ได้กับหัวข้อที่ใช้คำเหล่านี้ “ชาวเน็ตอึ้ง…..” หรือ “…….มาดูกันว่าผลจะเป็นอย่างไร” แต่บางครั้งก็อดใจไม่ได้ ก็กดเข้าไปดูอยู่ดี นั้นหมายความว่ามันทำให้เราสงสัยหรือดึงดูดความสนใจได้จริงๆ

ซึ่งมีงานวิจัยว่า 8 ใน 10 คน จะอ่านหัวข้อ
แต่มีเพียง 2 ใน 10 คน ที่จะอ่านข้อความที่เหลือ

ดังนั้น การเขียนหัวข้อที่ดึงดูดใจ หัวข้อจึงต้องสามารถดึงดูดความสนใจ ให้เกิดความอยากรู้ อยากอ่าน และสุดท้ายกดเข้ามาอ่าน โดยทาง QuickSprout ได้ทำ Infographic ที่อธิบายถึงวิธีการเขียนหัวข้อที่ดี โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

1. สั้นและได้ใจความ: การเขียนหัวข้อที่ดึงดูดใจ กำหนดว่าจำนวนอักษรต้องไม่เกิน 65 ตัวอักษร และความยาวของหัวข้อที่เหมาะสมที่สุด คือ 6 คำ เพราะคนเราจะอ่านหัวข้อ ในคำแรก และ 3 คำสุดท้ายเท่านั้น คือสแกนเร็วมาก ดังนั้นต้องให้อ่านน้อยที่สุดและเข้าใจมากที่สุด (แต่ผมว่าภาษาไทยอาจจะต้องมากกว่า 6 คำ เนื่องจากมีรายละเอียดของคำมากกว่าภาษาอังกฤษ)

2. คุณและคุณเท่านั้น: การบ่งบอกตัวตนของคุณหรืออ้างอิงตัวผู้เขียนอาจะช่วยดึงดูดความสนใจมากขึ้น เหมือนเราพูดคุยตรงๆกับผู้อ่าน ใช้ได้ดีกับการตั้งหัวข้อเป็นคำถาม

3. ใช้คำขยายความที่ดึงดูดใจ: เช่น อึ้ง ทึ่ง สุดยอด ก่อนตาย แปลก ขาดไม่ได้ สำคัญ และอื่นๆ

4. ใช้คำพูดเชิงลบ: ช่วยทำให้ผู้อ่านรู้สึกไม่มั่นคง หวั่นใจ หรืออยากที่จะแก้ไขสิ่งเหล่านั้น การใช้คำเหล่านี้ “ห้าม” “ปราศจาก” “หยุด” “ไม่” “ทำลาย” จะช่วยให้ผู้อ่านแชร์บทความนั้นมากขึ้น เช่น 18 สิ่งที่จะทำให้การเริ่มต้นธุรกิจไปไม่รอด หรือ 16 ข้ออ้างในการไม่เริ่มต้นธุรกิจ

5. ใช้ตัวเลข: ทำให้ง่ายต่อการเข้าใจขั้นตอน จำนวนข้อที่ต้องอ่าน จำนวนขั้นตอน จำนวนวิธี จำนวนสถานที่ หรืออื่นๆ โดยใช้ตัวเลขยิ่งใหญ่ยิ่งดี และใช้ตัวเลขแทนตัวอักษร เช่น 5 สิ่งพื้นฐานสำหรับมือใหม่ที่ขายสินค้า online ควรทำ หรือ 10 เทรนด์ต้องรู้สำหรับนักการตลาดในปี 2015

6. ปรับแต่งให้น่าสนใจขึ้น: การเขียนหัวข้อที่ดึงดูดใจ โดยเพิ่มคำให้คนอ่านสงสัย เช่น 15 วิธีที่ทำธุรกิจให้สำเร็จ (วิธีที่ 9 มันใช่อ่ะ)

ถ้าจะให้ดีเวลาจะตั้งหัวข้อ ให้ลองใช้สูตรนี้ “จำนวน หรือ คำที่กระตุ้นหรือเร้าใจ” + “คำขยายความ” + “คีย์เวิร์ด” + “คำสัญญา” จะช่วยให้การตั้งหัวข้อน่าสนใจมากขึ้น แต่ต้องไม่ลืมว่าการตั้งหัวข้อ ต้องเกี่ยวข้องกับบทความ ชัดเจน และเจาะจงมากที่สุด 

วิธีการตั้งหัวข้อนี้ ไม่เพียงแต่ใช้ในการเขียนบทความต่างๆเท่านั้น แต่ผู้ประกอบการเอสเอ็มอี (SMEs) สามารถนำไปปรับใช้กับการเขียน คำอธิบายสินค้า คำโฆษณา หรือแม้แต่ประโยคที่ใช้ดึงดูดลูกค้า ทั้งใน website, Facebook page, จดหมาย, email, leaflet หรือช่องทางต่างๆ นำไปลองใช้กันดูครับ แล้วอย่าลืมมาแชร์กันนะครับ 🙂

หัวข้อ-headline-บทความ-sme

#smeresearch #sme #business #AEC #วิจัย #วิจัยตลาด

Source: QuickSprout และ SME Research by MRSG Co.,Ltd
Credit image: stocksnap.io

Comments

comments