JavaScript must be enabled in order for you to see "WP Copy Data Protect" effect. However, it seems JavaScript is either disabled or not supported by your browser. To see full result of "WP Copy Data Protector", enable JavaScript by changing your browser options, then try again.

Thai SME Research

เปิดโลกธุรกิจ SMEs

10 กฎเหล็กใน การเจรจาต่อรองเงินเดือน 10 กฎเหล็กใน การเจรจาต่อรองเงินเดือน
ในโลกของธุรกิจ การเจรจาเป็นสิ่งที่สำคัญที่จะทำให้เป็นต่อหรือมีแต้มเหนือคนอื่น ดังนั้นการ การเจรจาต่อรองเงินเดือน ต้องมีการฝึกฝนและเตรียมตัวมาเป็นอย่างดี บทความนี้เสนอ 10 กฎเหล็กใน การเจรจาต่อรองเงินเดือน ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อผู้สมัครงาน และ ผู้ประกอบการ SMEs สามารถนำไปปรับใช้ในการเจรจาต่อรองได้ 1. อย่ายอมรับข้อเสนอเงินเดือนแรกที่บริษัทเสนอมาในการเจรจาต่อรองเงินเดือน 2. อย่าเปิดจำนวนเงินเดือนที่ต้องการก่อน ให้ทางบริษัทบอกช่วงเงินเดือนก่อน (ผมว่าพลาดกันประจำ T_T เพราะเป็นคำถามแรกๆที่โดนถามเลย) 3. จำไว้ว่าเราสามารถต่อรองอย่างอื่นมากกว่าเงินเดือนได้ในการเจรจาต่อรองเงินเดือน เช่น โบนัส หุ้น วันลา... 10 กฎเหล็กใน การเจรจาต่อรองเงินเดือน

ในโลกของธุรกิจ การเจรจาเป็นสิ่งที่สำคัญที่จะทำให้เป็นต่อหรือมีแต้มเหนือคนอื่น ดังนั้นการ การเจรจาต่อรองเงินเดือน ต้องมีการฝึกฝนและเตรียมตัวมาเป็นอย่างดี บทความนี้เสนอ 10 กฎเหล็กใน การเจรจาต่อรองเงินเดือน ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อผู้สมัครงาน และ ผู้ประกอบการ SMEs สามารถนำไปปรับใช้ในการเจรจาต่อรองได้

1. อย่ายอมรับข้อเสนอเงินเดือนแรกที่บริษัทเสนอมาในการเจรจาต่อรองเงินเดือน

2. อย่าเปิดจำนวนเงินเดือนที่ต้องการก่อน ให้ทางบริษัทบอกช่วงเงินเดือนก่อน (ผมว่าพลาดกันประจำ T_T เพราะเป็นคำถามแรกๆที่โดนถามเลย)

3. จำไว้ว่าเราสามารถต่อรองอย่างอื่นมากกว่าเงินเดือนได้ในการเจรจาต่อรองเงินเดือน เช่น โบนัส หุ้น วันลา หรืออื่นๆที่สำคัญต่อเรา

4. พูดคุยกับคนรับสมัครงาน ส่วนมากคนรับสมัครงานเป็นมิตรกับเรา แต่ก็มีข้อจำกัดเรื่องงบอยู่เหมือนกัน เค้าจะเพิ่มงบประมาณได้ถ้าเค้าต้องการคุณจริงๆ ดังนั้นต้องแสดงข้อมูลต่างๆให้เห็นว่าทำไมคุณถึงต้องได้ค่าจ้างที่แตกต่างจากคนอื่น

5. จงฝึกการสนทนาที่ต้องใช้ใน การเจรจาต่อรองเงินเดือน เชื่อเถอะว่าการต่อรองไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ถ้าฝึกมาดีแล้ว…ผ่านฉลุยแน่นอน (ถ้าไม่ฝึกมานะ ผมว่ามีตอบคำถามผิดๆถูกๆ โดนต้อนจนต้องยอมเลยล่ะ)

6. เตรียมข้อเสนอที่ใช้ในการตอบกลับให้ดี ควรคิดและวางแผนว่าถ้าทางบริษัทเสนอมาแบบนี้ เราควรต่อรองอย่างไร ตอบอย่างไร และเสนอกลับอย่างไร

7. คุณสามารถกำหนดเวลาในการต่อรอง เช่น พูดว่าคุณพบงานในฝันแล้ว แต่ยังไม่โอเคกับเงินเดือนที่เสนอมา ผมจะรับข้อเสนอวันนี้ถ้าบริษัทสามารถตกลงตามข้อเสนอได้

8. ควบคุมอารมณ์ให้มากที่สุด อย่าใจอ่อน อย่าเห็นใจ (อย่าลืมว่าเมื่อคุณตกลงไปแล้ว อย่าหวังว่าเค้าจะเห็นใจและเพิ่มเงินให้ในภายหลัง) มันเป็นธุรกิจ!!!

9. จำไว้ว่าการเจรจาต่อรองนี้ ขึ้นอยู่กับ 2 ปัจจัยนี้คือ คุณมีค่าเท่าไหร่และ เค้าจะจ่ายเท่าไหร่

10. หมั่นวิเคราะห์คุณค่าของคุณ หมายถึงสิ่งที่คุณมี สิ่งที่คุณเก่ง สิ่งที่คุณจะให้กับทางบริษัทได้ และอย่าลืมวิเคราะห์ศึกษาบริษัทที่จะไปสัมภาษณ์ด้วยว่าเป็นอย่างไร มีการทำงานอย่างไร ฐานเงินเดือนเป็นอย่างไร จะสามารถช่วยให้การเจรจาต่อรองสำเร็จ

สุดท้ายแล้ว การเจรจาต่อรองเงินเดือน จะสำเร็จได้ ก็ต่อเมื่อคุณมีความสามารถจริงๆ คุณสามารถนำเสนอตัวเองให้น่าสนใจ และสามารถช่วยให้บริษัทประสบความสำเร็จได้ โดยสรุปคือ คุณต้องมีของจริงๆ เพราะ “ของดีล้วนมีราคา” ส่วนทางบริษัทหรือผู้ประกอบการ SMEs บางครั้งการที่สามารถเจรจาเงินเดือนให้ต่ำที่สุดเป็นสิ่งที่จำเป็น แต่อย่าลืมว่า “ของถูกและดี ไม่มีในโลก” 🙂

สามารถอ่าน เหตุผลที่ควรเลือกจ้างพนักงานจาก ทัศนคติ (Attitude) และ 4 คำถามที่ต้องมีใน การสัมภาษณ์งาน เพื่อนำไปพัฒนาตนเองให้มีคุณค่าในการทำงานมากขึ้น และผู้ประกอบการ เอสเอ็มอี (SMEs) ใช้ในการพิจารณาเงินเดือนพนักงานได้ดีขึ้น

#smeresearch #sme #business #AEC #วิจัย #วิจัยตลาด

Source:  Time และ SME Research by MRSG Co.,Ltd.

Comments

comments